ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม บางรายอาจจะคิดว่าการจ่ายเงินประกันสังคมนั้นสิ้นเปลือง ต้องมาตัดออกจากเงินเดือนที่ได้ในแต่ละเดือน ไม่จำเป็นต้องทำ เพราะยังไม่เคยได้ใช้สิทธิ์อะไรเลย ผู้ประกันตนหลักๆ มี 3 ประเภท แต่ละประเภทมีสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป
ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี โดยที่ลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป และอายุไม่ต่ำว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ จำเป็นต้องส่งเงินเพื่อสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม โดยที่คิดเป็นสัดส่วนดังนี้ ลูกจ้าง 5% รวมกับนายจ้าง 5% และรัฐบาล 2.75% ของฐานเงินค่าจ้าง โดยมีรายละเอียดระบุไว้ว่าขั้นต่ำตั้งแต่ 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ในสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนภาคบังคับ มาตรา 33 จะได้รับความคุ้มครอง มีดังนี้ กรณีเจ็บป่วย/อุบัติเหตุ ทุพพลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน
ผู้ที่ทำงานส่วนใหญ่ จำเป็นต้องจ่ายเงินสมทบให้กับสำนักงานประกันสังคมในทุกๆเดือน ซึ่งแตกต่างกันออกไป ตามอัตราเงินเดือนของแต่ละคน และสิทธิประโยชน์นั้นแตกต่างกันไปตามหลักประกันสังคม ทั้งในด้านสุขภาพ เงินสมทบ เงินประกัน และความคุ้มครองที่จะได้รับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเราเองว่า เราต้องการเลือกการประกันตนแบบใด จึงจะเหมาะสมกับเรามากที่สุด
การออมในกองทุนประกันสังคมรวม = 1.5% + 3% + 0.5% = 5% ของค่าจ้างในแต่ละเดือนที่ส่งเข้าประกันสังคม จะถูกเก็บไว้เป็นเงินออม 3% สำหรับเป็นเงินบำนาญ/บำเหน็จ ของผู้ประกันตนในอนาคต ถ้าใครเงินเดือนเกิน 15,000 ก็แปลว่าเราจะถูกหัก 5% x 15,000 = 750 บาทต่อเดือน หรือปีละ 9,000 บาท
หากว่าไม่ได้ทำงานประจำแล้วอยากจะผู้ประกันตน สามารถทำได้เหมือนกันในประกันตนตามมาตรา 40 คือ บุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนตามมาตรา 33 และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 ผู้ที่จะสมัครประกันสังคมในมาตรา 40 ได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี ผู้สมัครสามารถเลือกสิทธิประโยชน์ได้ตามต้องการ