เคลมประกันรถแบบไม่มีคู่กรณี เริ่มต้นยังไง

ผู้ใช้รถยนต์และทำประกันภัยรถยนต์ไว้ การเคลมประกันภัยรถยนต์จะเป็นแบบมีคู่กรณี แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เฉี่ยวชน โดยไม่มีคู่กรณี หลายคนกังวลว่า การเคลมไม่มีคู่กรณีนั้นยุ่งยาก แต่ว่าความจริงแล้วไม่ยากอย่างที่คิด

ไม่มีคู่กรณี หมายถึง มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น รถได้รับความเสียหายไม่ว่าแปลเล็กหรือแผลใหญ่ โดยหลักการแล้วการไม่มีคู่กรณีทำให้รถยนต์คันเอาประกันต้องเป็นฝ่ายผิดไปโดยปริยาย ต้องทำการแจ้งว่าชน เฉี่ยวกับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น กระถางต้นไม้ รั้ว กำแพง เสา เป็นต้น แต่ต้องดูให้สมจริงมากที่สุดด้วย  อย่าบอกว่าโดนชนแล้วหนีนะครับ ไม่อย่างนั้นอาจจะโดนทางบริษัทประกันขอให้ตามหาคู่กรณี แล้วเรื่องก็จะยืดเยื้อไปเรื่อยแล้วจะไม่ได้เคลมสักที

เคลมประกันรถยนต์ไม่มีคู่กรณี

เริ่มต้นกับการแจ้งเคลมประกันแบบไม่มีคู่กรณี  แจ้งวัน และเวลาเกิดเหตุโดยแจ้งให้ใกล้เคียงวันที่เราแจ้งเคลมมากที่สุด หรืออยากให้ง่ายที่สุดคือเกิดเหตุแล้วแจ้งเลย  หากว่าการเกิดเหตุนั้นผ่านมานานแล้วทางบริษัทประกันภัยก็จะไม่รับแจ้งเคลมด้วย หากว่าเราไม่ได้เป็นฝ่ายที่ผิดจริงๆ เช่น การโดนชนแล้วหนี แต่จำเลขทะเบียนรถคู่กรณีได้และรีบดำเนินการแจ้งความ แบบนี้เราจะไม่เสียประวัติ

หากว่าไม่มีคู่กรณี แล้วต้องแจ้งว่าชน หรือเฉี่ยวกับสิ่งไม่มีชีวิต แบบที่สมเหตุสมผล เป็นไปได้ให้มากที่สุด  สามารถขอเลขเคลมได้ทั้งคัน เมื่อได้เลขเคลมแล้ว พร้อมที่จะนำรถเข้าซ่อม ถ้ายังไม่พร้อมในการนำรถไปซ่อม สามารถทิ้งไว้ก่อนได้แต่ต้องไม่เกิน 1 ปี  เมื่อได้เวลาจะนำรถเข้าซ่อม ก็เพียงแค่นำรถไปที่ศูนย์บริการ พร้อมใบเคลม ยื่นใบเคลม พร้อมเซ็นเอกสารสั่งซ่อม เพียงเท่านี้ เมื่อทางศูนย์บริการหรืออู่ซ่อม ซ่อมรถเสร็จแล้ว ก็สามารถนำรถไปใช้ได้ตามปกติเลย

ทราบกันไปเบื้องต้นแล้วว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ สิ่งที่เสียหาย คือ รถยนต์ที่อยู่ในอุบัติเหตุ และสิ่งแรกที่ผู้ขับขี่จะต้องทำ คือ รีบโทรแจ้งบริษัทประกันภัยที่ตนทำสัญญาด้วยทันที เพื่อมาทำเรื่องการเคลมประกันภัย ตามที่เราทำไว้กับบริษัทประกันภัย ยังไงก็ต้องเลือกบริษัทประกันภัยที่ดี ดูแลอย่างดี เมื่อเกิดเหตุอะไร มารวมเร็วทันใจ ไม่ปลอบให้เราจิตตก ว้าวุ่นนานเกินไป วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการขับขี่รถยนต์บนท้องถนนอย่างระมัดระวังและปลอดภัย ในทุกช่วงเวลานั่นเอง

 

รายชื่อบริษัทประกันรถยนต์ ในประเทศไทย

จำนวนรถยนต์มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทางบริษัทประกันรถยนต์ หรือ โบรกเกอร์ประกันรถยนต์ ก็เพิ่มมาขึ้นตาม วันนี้เราจะมาพูดกันถึงรายชื่อบริษัทประกันรถยนต์ ในประเทศไทย ว่ามีบริษัทไหนบ้าง รู้จักกับบริษัทประกันภัยไหนบ้าง

รายชื่อบริษัทประกันภัยที่มาแนะนำให้รู้จักวันนี้ มีทั้งมีชื่อเสียงอยู่แล้วและเคยได้ยินมาบ้าง ทั้ง วิริยะประกันภัย, อาคเนย์ประกันภัย, เทเวศประกันภัย, โตเกียวมารีน, เจ้าพระยาประกันภัย, มิตรแท้ประกันภัย, ไทยศรีประกันภัย, กรุงเทพประกันภัย, สินมั่นคงประกันภัย, เอราวัณประกันภัย,สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย, เอเชีย ประกันภัย, บริษัทกลางประกันภัย, แอลเอ็มจีประกันภัย, ประกันภัยไทยวิวัฒน์, แอกซ่าประกันภัย, นวกิจประกันภัย, ทิพยประกันภัย, ซิกน่า ประกันภัย, สามัคคีประกันภัย, เมืองไทยประกันภัย, อลิอันซ์ซีพีประกันภัย, ทูนประกันภัย, เอฟพีจี ประกันภัย, เอไอจี ประกันภัย, ยูเนี่ยนอินเตอร์ ประกันภัย, พุทธธรรมประกันภัย, กมลประกันภัย, , มิตซุย สุมิโตโม ประกันภัย, ศรีอยุธยา เจนเนอรัล ประกันภัย, สยามซิตี้ประกันภัย, บริรักษ์ประกันภัย, กรุงไทยพานิชประกันภัย, นิวอินเดียแอสชัวรินส์, บางกอกสหประกันภัย, ประกันคุ้มภัย, สัญญาประกันภัย, ฟอลคอนประกันภัย, ฟีนิกซ์ ประกันภัย, สหนิรภัยประกันภัย, อินทรประกันภัย, คิวบีอี ประกันภัย, เคเอสเค ประกันภัย, เจนเนอราลี่ ประกันภัย, ไทยพัฒนาประกันภัย, ไทยเศรษฐกิจประกันภัย, ธนชาตประกันภัย, นำสินประกันภัย, เอ็มซิกประกันภัย และ ประกันภัยล็อคตั้น วัฒนา  เป็นต้น

รายชื่อบริษัทประกันภัยรถยนต์ที่กล่าวมานั้น อาจจะมีเพิ่มมากขึ้นกว่านี้อีกในปัจจุบันและอนาคต รายชื่อบริษัทประกันรถยนต์ ในประเทศไทยเหล่านี้ที่กล่าวมานั้น ไม่ได้บอกถึงความเป็นที่หนึ่งหรือมั่นใจได้เลยว่าสามารถใช้บริการได้ดีพอหรือไม่ ทั้งหมด ทุกอย่างเพียงแค่ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจส่วนตัว ในการใช้บริการของแต่ละบุคคลว่าบริษัทประกันภัยที่ใช้อยู่ให้บริการตัวคุณเองดีพอหรือไหมเท่านั้น หากอยากจะเลือกบริษัทประกันรถยนต์ในประเทศไทยควรอ่านจากรีวิว หรือฟังจากคำแนะนำของเพื่อน คนรอบข้างที่ทำประกันภัยรถยนต์กับบริษัทนั้นๆ จะช่วยเพิ่มการตัดสินใจได้ดีอีกด้วย

อ่าน รายชื่อบริษัทประกันชีวิต ในประเทศไทย

รู้จักกับ บริษัทประกันภัย ในประเทศไทย

บริษัทประกันภัย คือ บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 โดยเป็นการตกลงกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่ายคือบริษัทประกันภัย (ผู้รับประกันภัย) และผู้ซื้อประกันภัย (ผู้เอาประกันภัย) หลักการทำประกัน คือ การโอนย้ายความเสี่ยงของการสูญเสียจากผู้เอาประกันไปยังบริษัทประกันภัย โดยผู้เอาประกันภัยต้องจ่ายเงิน ซึ่งเรียกว่า “เบี้ยประกันภัย” ให้แก่บริษัทประกันภัย หากเกิดความเสียหายขึ้นในเงื่อนไขที่ตกลงกัน บริษัทประกันภัยมีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมให้แก่ผู้เอาประกัน ตามที่ได้ระบุในกรมธรรม์  โดยมี 2 รูปแบบได้แก่ “สัญญาประกันชีวิต” ซึ่งจะเน้นไปที่การคุ้มครองชีวิต ประกันสุขภาพ และการออมเงิน และ “สัญญาประกันวินาศภัย” ซึ่งจะเน้นไปที่การคุ้มครองภัยพิบัติต่าง ๆ เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม เป็นต้น

ประกันธุรกิจ ประกันชีวิต ประกันภัย

ผู้รับประกันภัยหรือบริษัทประกันภัยจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยจะมีรายชื่อบริษัทประกันภัยชั้นนำ ชื่อดัง มากมายเป็นหลายสิบบริษัท ทั้งบริษัทที่มีชื่อเสียงมาก ไล่ไปจนถึงบริษัทที่พึ่งก่อตัวขึ้นมาและกำลังพยายามที่จะสร้างชื่อให้กับตนเองด้วยวิธีการต่างๆ วันนี้จะลองมาทำความรู้จักกับบริษัทประกันภัยที่มีอยู่ในประเทศไทยว่ามีชื่อที่คุ้นกันบ้างหรือเปล่า โดยไม่เรียงจากบริษัทที่มีชื่อเสียง

บริษัทประกันชีวิต ได้แก่  กรุงเทพประกันชีวิต, กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต, เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์), ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต, ไทยประกันชีวิต, ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต, เอฟดับบลิวดีประกันชีวิต, ไทยรีประกันชีวิต, ไทยสมุทรประกันชีวิต, ธนชาตประกันชีวิต, บางกอกสหประกันชีวิต, ประกันชีวิตนครหลวงไทย(เดิมบจ.แมกซ์), พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย), ฟินันซ่าประกันชีวิต, โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย), เมืองไทยประกันชีวิต,  แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย), ไทยซัมซุง ประกันชีวิต(เดิมสยามซัมซุง), ทิพยประกันชีวิต (เดิม สยามประกันชีวิต), สหประกันชีวิต, เอไอเอ ประเทศไทย, อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต, อาคเนย์ประกันชีวิต, ล็อคตั้น วัฒนาฯ, เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์, บูพา ประเทศไทย, แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต, ไอเอ็นจี ประกันชีวิต, ซิกน่า ประกันภัย, ฟิลลิปประกันชีวิต ซึ่งบริษัทต่างๆ เหล่านี้ก็จะเป็นบริษัทที่มักได้รับความนิยมหรือเป็นบริษัทที่คุ้นหูกันมายาวนาน แต่ไม่ได้หมายความว่าบริษัทที่เหลือจะไม่ใช่บริษัทที่ไม่ดี

ความจริงแล้ว  รายชื่อบริษัทประกันภัยไม่ได้จะบอกถึงความเป็นที่หนึ่งหรือความมั่นใจได้ว่าสามารถใช้บริการได้ดีพอหรือไหม โดยที่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับความพึงพอใจในการใช้บริการของแต่ละบุคคลว่าบริษัทประกันภัยที่ใช้อยู่ได้ให้บริการดีพอหรือยัง เพราะแต่ละบริษัทก็มีพนักงานมากหน้าหลายตา นิสัยใจคอต่างกัน บางทีเลือกใช้งานบริษัทเดียวกันแต่การบริการไม่เหมือนกันเพราะขึ้นอยู่กับตัวแทน ควรศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วน ก่อนจะตัดสินใจเลือกซื้อประกันกับบริษัทประกันภัย