ประกันภัยด้านไซเบอร์

ประกันภัยด้านไซเบอร์ คุ้มครองได้หลากหลายมาก เช่น โรงแรมแห่งหนึ่งเจอแฮกเกอร์ เจาะระบบแล้วขโมยข้อมูลบัตรเครดิตของลูกค้าที่เข้าพัก ซึ่งจะไปสร้างความเสียหายได้ ทางโรงแรมต้องมีค่าใช้จ่ายตรวจสอบระบบเพื่อหาช่องโหว่ บางที่อาจต้องจ้างที่ปรึกษาเรื่องการประชาสัมพันธ์ เพื่อรักษาชื่อเสียงของโรงแรม และในกรณีที่โดนฟ้องก็จะมีค่าใช้จ่ายในชั้นศาล แต่หากทำประกันภัยไซเบอร์ก็สามารถเคลมประกันในทุกความเสียหายที่เกิดขึ้นจากไซเบอร์ได้

ทางบริษัทประกันวินาศภัยที่มีประกันภัยด้านไซเบอร์ ให้คำปรึกษาและบริการในธุรกิจต่างๆ ทั้งธุรกิจเคมีภัณฑ์, ธุรกิจสถาบันการเงิน, ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม, ธุรกิจเกี่ยวกับสุขอนามัย, ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจเพื่อความบันเทิง, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, บริษัทกฎหมาย, ธุรกิจผู้ผลิตสินค้า, ธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยี, ธุรกิจการให้บริการทางวิชาชีพ

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมีนโยบายส่งเสริมให้บริษัทประกันภัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่จะช่วยรองรับความเสี่ยงจากการจู่โจมหรือคุกคามทางไซเบอร์ นั่นคือการประกันภัยไซเบอร์ (Cyber Insurance) ที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อความเสียหายทางคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจในเชิงพาณิชย์ ได้ทุกประเภทประกันภัย เช่น ผู้ผลิตสินค้า ผู้ให้บริการประเภทต่างๆโดยเฉพาะสถาบันการเงินซึ่งมีความเสี่ยงภัยในระดับสูง โดยจะคุ้มครองทั้งในส่วน ความรับผิดต่อผู้เอาประกันภัย (First Party) หรือความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (Third Party) ซึ่งเกิดขึ้นกับข้อมูลของลูกค้าสูญหาย หรือถูกโจรกรรมไป

กรมธรรม์ประกันภัยด้านไซเบอร์ จะคุ้มครองครอบคลุมความเสียหายทั้งหมดหรือไม่ต้องพิจารณาว่าไวรัสทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์  การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ความรับผิดทางสื่อ ข้อผิดพลาดหรือการละเลยในด้านเทคโนโลยี การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล และการสื่อสารหรือถ่ายโอนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์มากน้อยเพียงใด

ในปัจจุบันพบว่า มีบริษัทประกันวินาศภัยไทย 10 แห่ง ที่เข้ามาขออนุมัติกรมธรรม์ประกันภัยไซเบอร์ โดยเพิ่มเติมจาก 5 บริษัทที่ได้รับอนุมัติกรมธรรม์ประกันภัยไซเบอร์ไปแล้ว คือ บมจ.ไทยประกันภัย, บมจ.เอไอจี ประกันภัย (ประเทศไทย), บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์อินชัวรันส์ สาขาประเทศไทย, บมจ.ทิพยประกันภัย และ บมจ.เอฟพีจี ประกันภัย (ประเทศไทย)

บริษัท ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) บริษัทประกันภัยที่ก่อตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 ด้วยทุนจดทะเบียนชำระเต็มจำนวน 300 ล้านบาท โดยเริ่มแรก ใช้ชื่อว่า “บริษัท ไทย-ยาซึดะ ประกันภัย จำกัด”  ในเดือนมิถุนายน 2545 The Yasuda Fire & Marine Insurance Inc. ได้ควบรวมกิจการกับ The Nissan Fire & Marine Insurance Inc. ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ชื่อว่า Sompo Japan Insurance Inc. สำหรับในประเทศไทย บริษัทฯ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด”  บริษัทฯ ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 3,120 ล้านบาท ชำระเต็มจำนวน  ในเดือนสิงหาคม 2555 บริษัทฯ ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ ประกันวินาศภัย โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของทุนจดทะเบียนและผู้ถือหุ้น ในเดือนมกราคม 2556 บริษัทฯ ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท สมโพธิ์ เจแปน นิปปอนโคอะ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โดยการควบรวมธุรกิจกับ นิปปอนโคอะ ประเทศไทย ปี 2559 บริษัทฯได้ทำการจดทะเบียนปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือชื่อภาษาอังกฤษ “Sompo Insurance (Thailand) Public Company Limited” มีผลตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2559

ซมโปะ ประกันภัยซมโปะ ประกันภัย กับการเปลี่ยนชื่อบริษัทฯ ในรอบนี้เป็นหนึ่งในนโยบายของสำนักงานใหญ่ (กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น) เพื่อสะท้อนถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของ SOMPO GROUP ทั่วโลก โดยมีหลักในการยึดถือนโยบายความซื่อสัตย์สุจริตในการดำเนินงาน และมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ให้บริการที่ดีที่สุดกับลูกค้าของเรา เป็นอันดับแรก และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ บริษัทฯ จึงไม่หยุดนิ่งที่จะคิดค้นและพัฒนาทางเลือกของประกันในหลากหลายรูปแบบ ทั้งด้านความปลอดภัย และด้านสุขภาพ เพื่ออนาคตที่ดีที่สุดของทุกท่าน

ผลิตภัณฑ์  ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) มีหลากหลายชนิด ทำออกมาเพื่อตอบรับทุกความต้องการ ของลูกค้า ทั้งประกันภัยธุรกิจ, ประกันภัยรถยนต์, ประกันภัยทางทะเล, ประกันภัยทรัพย์สิน, ประกันภัยเบ็ดเตล็ด, ประกันภัยบุคคล, ประกันภัยรถยนต์,  ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย, ประกันภัยโจรกรรม, ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล, ประกันภัยผู้เล่นกอล์ฟ, ประกันภัยการเดินทาง  ความเสี่ยงภัยเป็นสิ่งที่แฝงในทุกด้านของชีวิต ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนหรือทำอะไรความเสี่ยงภัย จะติดตามท่านดั่งเงา หลายคนอาจเป็นกังวลต่อความสูญเสียซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากภัยต่าง ๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหาย

ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย)  ก่อตั้งทีมงานที่มีวิศวกรบริหารความเสี่ยงภัยที่เชี่ยวชาญมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เพื่อให้บริการเพิ่มคุณค่าแก่ลูกค้า ก่อนที่จะมีความสูญเสียเกิดขึ้น ทีมวิศวกรบริหารความเสี่ยงภัยของบริษัทเราสามารถช่วยท่านในการป้องกันลด และควบคุมความสูญเสียดังกล่าวได้

บริษัท ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

สำนักงานใหญ่ กรุงเทพ 990 อับดุลราฮิมเพลซ ชั้น12, 14 ถนนพระราม4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500โทรศัพท์ : 02-119-3000
โทรสาร : 02-636-2340 , 02-636-2450
อีเมล์ : info@sompo.co.th
เว็บไซต์  : http://www.sompo.co.th

บริษัท พุทธธรรมประกันภัย จำกัด

ประกอบธุรกิจด้านการประกันวินาศภัยเมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการประกันวินาศภัยทุกประเภท ทั้งการประกันอัคคีภัย ประกันภัยรถยนต์  ประกันภัยทางทะเล  ประกันภัยเบ็ดเตล็ด  รวมทั้งรับประกันภัยตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2535

พุทธธรรมประกันภัย ประกอบด้วยคณะผู้บริหารที่พร้อมด้วยประสบการณ์ความชำนาญและเป็นที่น่าเชื่อถือในวงการธุรกิจ  โดยมีการยึดหลัก ยึดมั่นในการบริหาร ความสะดวกรวดเร็ว สร้างความพอใจ ด้วยศักยภาพขององค์กร ที่ตอบสนองการบริการของงานประกันวินาศภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลิตภัณฑ์ พุทธธรรมประกันภัย มีหลากหลายผลิตภัณฑ์ ออกมาเพื่อตอบสนองกับรูปแบบความต้องการของผู้ใช้ ที่หลากหลายเพิ่มเติมมากขึ้น ทั้งการประกันภัยอัคคีภัย เป็นการรับประกันอัคคีภัยให้กับทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นที่พัก อาคาร โรงงาน เฟอร์นิเจอร์ สินค้าในสต็อก พร้อมกับขยายความคุ้มครองเพิ่มเติม

การประกันภัยรถยนต์  เป็นสิ่งที่ผู้คนทั่วไปปกติแล้วต่างคนต่างเลือกให้รถยนต์ที่เราขับในทุกวัน มีประกันที่ครอบคลุม คุ้มครองเพื่อความอุ่นใจในอนาคต ทาง พุทธธรรมประกันภัย จะให้ความคุ้มครองต่อการสูญหาย ความเสียหายของตัวรถ อุปกรณ์ต่างๆ ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก และยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย

การประกันภัยทางทะเลและการขนส่ง ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ทางบริษัทให้ความคุ้มครองต่อสินค้าและทรัพย์สิน การรับประกันเกิดจากการขนส่งทางทะเล ความเสียหายจากเรือชนกัน เรือจม เกยตื้น ไฟไหม้ ความเสียหายระหว่างการขนส่งสินค้า ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ

การประกันภัยเบ็ดเตล็ดที่พุทธธรรมประกันภัย นอกจากการประกันภัยทางรถยนต์นั้นแล้ว ยังมีการประกันภัยความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก ประกันอุบัติเหตุในการเดินทาง ประกันการติดตั้งเครื่องจักร ประกันการโจรกรรม ประกันภัยระหว่างการก่อสร้าง นอกจากนี้ยังมีนโยบายในการขยายการบริการให้ทั่วภูมิภาค เพื่อความมั่นคงปลอดภัยต่อทรัพย์สินทุกชนิด

หากข้อมูลในบทความข้างต้นยังไม่มากพอสำหรับการซื้อประกันภัยกับบริษัทพุทธธรรมประกันภัย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามข้อมูลด้านล่าง

บริษัท พุทธธรรมประกันภัย จำกัด (มหาชน)

ที่อยู่ 9/81 ซอยรัชประชา 2 ถนนรัชดาภิเษก แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

โทรศัพท์ : 0-2585-9009 แฟกซ์ : 0-2911-0993

เว็บไซต์ http://www.phutthatham.com

ก.ม.ประกันสังคม

กฎหมายประกันสังคม สําหรับบุคคล ถูกนิยามภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายแรงงาน เผยแพร่ เมื่อวันที่ 25 กันยายน ปีค.ศ. 2002 เพื่อกําหนดแผนการประกันสังคมที่ระบุถึงแผนเงินบํานาญที่ถูก จัดไว้ในรูปแบบผลประโยชน์เมื่อชราภาพ ผลประโยชน์จากการทุพพลภาพ และผลประโยชน์สําหรับ ทายาทผู้ประกันตน การประกันความเสี่ยงอันเกิดจากการประกอบอาชีพ ซึ่งรวมถึงการบาดเจ็บจาก การทํางานและผลประโยชน์จากการเจ็บป่วยจากโรคอันเกิดจากการทํางาน

ลูกจ้าง ซึ่งมีฐานะเป็นผู้ประกันตน ก็คือ บุคคลที่สมัครเข้าทํางานในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้าง รวมกันตั้งแต่ ๒๐ คนขึ้นไป โดยกฎหมายประกันสังคมบังคับให้ลูกจ้างดังกล่าวต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน ประกันสังคม ซึ่งนายจ้างจะเป็นผู้หักเงิน ค่าจ้างทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้างและนําส่งเข้ากองทุนประกันสังคมเป็นเงินสมทบส่วนของลูกจ้าง

นายจ้าง ผู้ซึ่งมีฐานะรับลูกจ้างเข้าทํางานโดยจ่ายค่าจ้าง และผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทํางานแทน นายจ้างในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจํากัด หรือห้างหุ้นส่วนต่าง ๆ นายจ้างหมายความรวมถึง มีอํานาจ กระทําการแทนนิติบุคคล และผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอํานาจ กระทําการแทนนิติบุคคลให้ทําการ แทนด้วย

เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล หรือเงินที่ผู้ประกันตนและรัฐบาลร่วมกัน จ่ายสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อจ่ายเป็นประโยชน์ทดแทนให้แก่ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทน

เมื่อผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาครบกําหนดระยะเวลาที่เป็นเงื่อนไขตามกฎหมาย แล้วเกิดประสบเคราะห์ภัยหรือได้รับความเดือดร้อนตามประเภทของการประกันภัยสังคมแต่ละประเภท ก็จะ มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนในรูปแบบต่าง ๆ ดังที่กล่าวมา ยสํานักงานประกันสังคมจะเป็น องค์กรที่รับผิดชอบดูแลให้ผู้ประกันตน หรือผู้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนได้รับความช่วยเหลือเพื่อบรรเทา ความเดือดร้อน ตามกฎหมายประกันสังคม

ข้อมูลจาก https://www.dsi.go.th

โบรกเกอร์ ประกันภัย

โบรกเกอร์ ประกันภัย กลุ่มนายหน้าขายประกันที่มารวมตัวกันเพื่อเปิดบริษัทใหม่ เพื่อใช้เป็นศูนย์รวมข้อเสนอประกันภัยจากที่ต่างๆ มีหน้าที่ในการวิเคราะห์ธุรกิจและการรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมถูกต้องและเพียงพอสำหรับธุรกิจ โบรกเกอร์ ประกันภัยนี้เป็นหน้าที่ที่สูงกว่าการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดูแลระบบที่บริสุทธิ์ของตัวแทน แต่ความเชี่ยวชาญนี้มาที่ค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น โบรกเกอร์มักจะเสียค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมในการบริหารหรือการชำระเบี้ยประกันจะสูงกว่า โบรกเกอร์ ประกันภัย ถือว่าเป็นตัวกลางระหว่างบริษัทประกันภัยรถยนต์ ซึ่งเป็นผู้รับประกันให้กับเจ้าของรถยนต์ที่มีความสนใจที่จะซื้อ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์

นายหน้าประกันภัยจะทำหน้าที่เชิงให้คำปรึกษาให้แก่ลูกค้าที่ซื้อสินค้าได้มากกว่าตัวแทน, นายหน้าจะเน้นคุณภาพสินค้าที่จะเลือกขายมากกว่าตัวแทน, นายหน้าจะมีข้อเปรียบเทียบด้านสินค้าให้ลูกค้าพิจารณามากกว่าตัวแทน นายหน้าจะชี้ช่องสินค้าดีๆ ให้ลูกค้าทราบอย่างรอบด้าน ส่วนตัวแทนจะชวนลูกค้าให้ซื้อเป็นหลัก ช่วยดูแลให้คำปรึกษาแนะนำ หรือแก้ไขปัญหาให้กับเราในทุกๆขั้นตอน ซึ่งโบรกเกอร์ ประกันภัยแต่ละแห่งอาจจะมีการให้บริการในลักษณะและรูปแบบที่มีความแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดธุรกิจและความชำนาญของบริษัทที่ให้บริการ

โบรกเกอร์ประกันภัยรถยนต์ จะมีข้อเสนอพิเศษจาก บริษัทประกันภัยต่างๆ เพราะสร้างความหลากหลายให้กับในการนำเสนอราคาประกัน พร้อมกับเปรียบเทียบค่าเบี้ยประกันและความคุ้มครองให้กับลูกค้าได้ การซื้อประกัน ผ่านโบรกเกอร์ประกันภัย จะมีข้อดีในเรื่องของการได้ค่าเบี้ยประกันราคาถูก และการได้เปรียบเทียบราคาค่าเบี้ยประกันของหลายบริษัทก่อนตัดสินใจซื้อ ดูเทคนิคการเลือก โบรกเกอร์กันภัยได้ที่นี่

การบริหารความเสี่ยงภัยทางธุรกิจ

การบริหารความเสี่ยงภัยทางธุรกิจ คือ กระบวนการดำเนินงานขององค์กรที่เป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้องค์กรลดมูลเหตุของแต่ละโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย ให้ระดับของความเสียหายและขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ประเมินได้ ควบคุมได้ และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ โดยคำนึงถึงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กรเป็นสำคัญ

ความเสี่ยงภัยทางธุรกิจ

การบริหารความเสี่ยงภัยทางธุรกิจ เป็นกิจกรรมที่ทุกธุรกิจในปัจจุบันต้องให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะการที่ธุรกิจจะลงทุนในสิ่งใดแล้ว ผลที่ธุรกิจต้องการก็คือผลตอบแทนสูงสุด ความเสี่ยงระดับนโยบายของธุรกิจ กลยุทธ์หรือความเสี่ยงที่ทำให้ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ระดับกลยุทธ์องค์กรได้ โดยแนวทางบริหารความเสี่ยงทั้งองค์กร (Enterprise Risk Management) ได้มุ่งเน้นการเชื่อมโยงการบริหารความเสี่ยงกับกระบวนการกำหนดกลยุทธ์และการวางแผนธุรกิจ ดังนั้นการบริหารความเสี่ยงจะช่วยระบุเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบกับองค์กร

ประกันความเสี่ยงของธุรกิจ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสิ่งที่บริษัทคาดไว้ว่าจะเกิดขึ้น แต่ผลกลับไม่เป็นไปตามที่คาดหมายเอาไว้ตั้งแต่แรก ทำให้ต้องมีบริหารความเสี่ยงภัยทางธุรกิจ ประกันความเสี่ยงภัยทางทรัพย์สิน สามารถใช้เครื่องมือทางการคำนวณ เพื่อช่วยในการวัดหาค่าความเสี่ยงได้ เช่น ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)  เริ่มพิจารณาจากการดำเนินธุรกิจในแต่ละวัน ว่าการทำธุรกิจในแต่ละวันนั้นมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด

การบริหารความเสี่ยงของธุรกิจ องค์กรยุคใหม่ครอบคลุมถึงการบูรณาการอย่างลงตัวของวัฒนธรรมองค์กร กระบวนการและโครงสร้างองค์กร มีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการบริหารงานและผลได้ผลเสียของธุรกิจ การลดความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อหน่วยงานให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยผู้บริหารควรต้องรู้ความเสี่ยงทั้งหมดขององค์กร แต่หน่วยงานหรือองค์กรจะมีการควบคุมภายในหรือไม่ขึ้นอยู่กับความคุ้มค่าและความสบายใจการทำงาน

บางองค์กรจึงต้องเลือกซื้อประกันธุรกิจ มาเพื่อครอบคลุม คุ้มครอง ธุรกิจ เพื่อความอุ่นใจ และสบายใจในการทำธุรกิจ ของเจ้าของธุรกิจ

เคลมประกันรถแบบไม่มีคู่กรณี เริ่มต้นยังไง

ผู้ใช้รถยนต์และทำประกันภัยรถยนต์ไว้ การเคลมประกันภัยรถยนต์จะเป็นแบบมีคู่กรณี แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เฉี่ยวชน โดยไม่มีคู่กรณี หลายคนกังวลว่า การเคลมไม่มีคู่กรณีนั้นยุ่งยาก แต่ว่าความจริงแล้วไม่ยากอย่างที่คิด

ไม่มีคู่กรณี หมายถึง มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น รถได้รับความเสียหายไม่ว่าแปลเล็กหรือแผลใหญ่ โดยหลักการแล้วการไม่มีคู่กรณีทำให้รถยนต์คันเอาประกันต้องเป็นฝ่ายผิดไปโดยปริยาย ต้องทำการแจ้งว่าชน เฉี่ยวกับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น กระถางต้นไม้ รั้ว กำแพง เสา เป็นต้น แต่ต้องดูให้สมจริงมากที่สุดด้วย  อย่าบอกว่าโดนชนแล้วหนีนะครับ ไม่อย่างนั้นอาจจะโดนทางบริษัทประกันขอให้ตามหาคู่กรณี แล้วเรื่องก็จะยืดเยื้อไปเรื่อยแล้วจะไม่ได้เคลมสักที

เคลมประกันรถยนต์ไม่มีคู่กรณี

เริ่มต้นกับการแจ้งเคลมประกันแบบไม่มีคู่กรณี  แจ้งวัน และเวลาเกิดเหตุโดยแจ้งให้ใกล้เคียงวันที่เราแจ้งเคลมมากที่สุด หรืออยากให้ง่ายที่สุดคือเกิดเหตุแล้วแจ้งเลย  หากว่าการเกิดเหตุนั้นผ่านมานานแล้วทางบริษัทประกันภัยก็จะไม่รับแจ้งเคลมด้วย หากว่าเราไม่ได้เป็นฝ่ายที่ผิดจริงๆ เช่น การโดนชนแล้วหนี แต่จำเลขทะเบียนรถคู่กรณีได้และรีบดำเนินการแจ้งความ แบบนี้เราจะไม่เสียประวัติ

หากว่าไม่มีคู่กรณี แล้วต้องแจ้งว่าชน หรือเฉี่ยวกับสิ่งไม่มีชีวิต แบบที่สมเหตุสมผล เป็นไปได้ให้มากที่สุด  สามารถขอเลขเคลมได้ทั้งคัน เมื่อได้เลขเคลมแล้ว พร้อมที่จะนำรถเข้าซ่อม ถ้ายังไม่พร้อมในการนำรถไปซ่อม สามารถทิ้งไว้ก่อนได้แต่ต้องไม่เกิน 1 ปี  เมื่อได้เวลาจะนำรถเข้าซ่อม ก็เพียงแค่นำรถไปที่ศูนย์บริการ พร้อมใบเคลม ยื่นใบเคลม พร้อมเซ็นเอกสารสั่งซ่อม เพียงเท่านี้ เมื่อทางศูนย์บริการหรืออู่ซ่อม ซ่อมรถเสร็จแล้ว ก็สามารถนำรถไปใช้ได้ตามปกติเลย

ทราบกันไปเบื้องต้นแล้วว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ สิ่งที่เสียหาย คือ รถยนต์ที่อยู่ในอุบัติเหตุ และสิ่งแรกที่ผู้ขับขี่จะต้องทำ คือ รีบโทรแจ้งบริษัทประกันภัยที่ตนทำสัญญาด้วยทันที เพื่อมาทำเรื่องการเคลมประกันภัย ตามที่เราทำไว้กับบริษัทประกันภัย ยังไงก็ต้องเลือกบริษัทประกันภัยที่ดี ดูแลอย่างดี เมื่อเกิดเหตุอะไร มารวมเร็วทันใจ ไม่ปลอบให้เราจิตตก ว้าวุ่นนานเกินไป วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการขับขี่รถยนต์บนท้องถนนอย่างระมัดระวังและปลอดภัย ในทุกช่วงเวลานั่นเอง

 

รายชื่อบริษัทประกันรถยนต์ ในประเทศไทย

จำนวนรถยนต์มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทางบริษัทประกันรถยนต์ หรือ โบรกเกอร์ประกันรถยนต์ ก็เพิ่มมาขึ้นตาม วันนี้เราจะมาพูดกันถึงรายชื่อบริษัทประกันรถยนต์ ในประเทศไทย ว่ามีบริษัทไหนบ้าง รู้จักกับบริษัทประกันภัยไหนบ้าง

รายชื่อบริษัทประกันภัยที่มาแนะนำให้รู้จักวันนี้ มีทั้งมีชื่อเสียงอยู่แล้วและเคยได้ยินมาบ้าง ทั้ง วิริยะประกันภัย, อาคเนย์ประกันภัย, เทเวศประกันภัย, โตเกียวมารีน, เจ้าพระยาประกันภัย, มิตรแท้ประกันภัย, ไทยศรีประกันภัย, กรุงเทพประกันภัย, สินมั่นคงประกันภัย, เอราวัณประกันภัย,สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย, เอเชีย ประกันภัย, บริษัทกลางประกันภัย, แอลเอ็มจีประกันภัย, ประกันภัยไทยวิวัฒน์, แอกซ่าประกันภัย, นวกิจประกันภัย, ทิพยประกันภัย, ซิกน่า ประกันภัย, สามัคคีประกันภัย, เมืองไทยประกันภัย, อลิอันซ์ซีพีประกันภัย, ทูนประกันภัย, เอฟพีจี ประกันภัย, เอไอจี ประกันภัย, ยูเนี่ยนอินเตอร์ ประกันภัย, พุทธธรรมประกันภัย, กมลประกันภัย, , มิตซุย สุมิโตโม ประกันภัย, ศรีอยุธยา เจนเนอรัล ประกันภัย, สยามซิตี้ประกันภัย, บริรักษ์ประกันภัย, กรุงไทยพานิชประกันภัย, นิวอินเดียแอสชัวรินส์, บางกอกสหประกันภัย, ประกันคุ้มภัย, สัญญาประกันภัย, ฟอลคอนประกันภัย, ฟีนิกซ์ ประกันภัย, สหนิรภัยประกันภัย, อินทรประกันภัย, คิวบีอี ประกันภัย, เคเอสเค ประกันภัย, เจนเนอราลี่ ประกันภัย, ไทยพัฒนาประกันภัย, ไทยเศรษฐกิจประกันภัย, ธนชาตประกันภัย, นำสินประกันภัย, เอ็มซิกประกันภัย และ ประกันภัยล็อคตั้น วัฒนา  เป็นต้น

รายชื่อบริษัทประกันภัยรถยนต์ที่กล่าวมานั้น อาจจะมีเพิ่มมากขึ้นกว่านี้อีกในปัจจุบันและอนาคต รายชื่อบริษัทประกันรถยนต์ ในประเทศไทยเหล่านี้ที่กล่าวมานั้น ไม่ได้บอกถึงความเป็นที่หนึ่งหรือมั่นใจได้เลยว่าสามารถใช้บริการได้ดีพอหรือไม่ ทั้งหมด ทุกอย่างเพียงแค่ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจส่วนตัว ในการใช้บริการของแต่ละบุคคลว่าบริษัทประกันภัยที่ใช้อยู่ให้บริการตัวคุณเองดีพอหรือไหมเท่านั้น หากอยากจะเลือกบริษัทประกันรถยนต์ในประเทศไทยควรอ่านจากรีวิว หรือฟังจากคำแนะนำของเพื่อน คนรอบข้างที่ทำประกันภัยรถยนต์กับบริษัทนั้นๆ จะช่วยเพิ่มการตัดสินใจได้ดีอีกด้วย

อ่าน รายชื่อบริษัทประกันชีวิต ในประเทศไทย

ประกันรถยนต์ชั้น 2 คุ้มครองอะไรได้บ้าง ?

ประกันรถยนต์ชั้น 2 คุ้มครองอะไรได้บ้าง คำถามยอดฮิตติดทอปชาร์จ สำหรับคนมีรถ สำหรับคนที่ต้องการทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 กับโบรกเกอร์ ประกันภัยแต่ไม่มั่นใจ ไม่ทราบ และหลงลืมไปว่าประกันรถยนต์ชั้น 2 จะคุ้มครองอะไรบ้าง คุ้มครองได้มากแค่ไหน วันนี้ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

ประกันรถยนต์

กรณีรถที่มีอายุมาก หรือในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเคลมประกันบ่อยครั้ง ประกันรถยนต์ชั้น 2 คุ้มครอง ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก, ให้ความคุ้มครองในเรื่องของทรัพย์สินของบุคคลภายนอก, ให้ความคุ้มครองในกรณีที่รถยนต์เกิดการสูญหายหรือเกิดไฟไหม้ หากจะคิดง่ายๆ คือ ประกันรถยนต์ชั้น 2 จะแตกต่างกับประกันภัยชั้น 1 ตรงที่หากเกิดกรณีรถของผู้เอาประกันภัยเกิดความเสียหายจะไม่มีการคุ้มครองในเรื่องของการซ่อมให้ ผู้เอาประกันภัยจะต้องทำการซ่อมรถยนต์ของตัวเองด้วยเงินตัวเอง แต่ราคาเบี้ยนั้นก็จะถูกกว่าประกันรถยนต์ชั้น 1 เช่นกัน  หรือพูดง่ายๆคือ ให้ความคุ้มครองในกรณี ซ่อมเขา + ไม่ซ่อมเรา + สูญหาย + ไฟไหม้ แค่นั้น จบเลย

ทราบกันแล้วว่า ประกันรถยนต์ชั้น 2 คุ้มครอง อะไรบ้าง แต่อาจจะยังงงๆกันอยู่ว่า เบี้ยประกันรถยนต์คืออะไร อ่านต่อกันตรงนี้ค่ะ  เบี้ยประกันรถยนต์ คือ การที่เราต้องนำเงินไปจ่ายให้กับ บริษัทประกัน ทุกๆปี หรือสั้นๆก็คือ ซื้อที่จะซื้อความคุ้มครอง ความอุ่นใจ ในกรณีที่เราได้รับอุบัติเหตุ หรือเจอกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดต่างๆ นั่นเอง

การทำประกันภัยรถยนต์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากกว่าการทำประกันภัยรถยนต์ คือ การขับรถยนต์ด้วยความมีสติ ตั้งอยู่บนความไม่ประมาทดีที่สุด ไม่ว่าใครก็ตามคงไม่อยากจะให้เกิดอุบัติเหตุหรือคงไม่มีใครอยากจะแจ้งประกันภัยให้มาเคลมเป็นแน่ สิ่งนี้จึงเป็นสิ่งที่ควรพึงระลึกเอาไว้ในใจอยู่เสมอในยามที่ใช้รถใช้ถนน จะได้ไม่ต้องเรียกใช้โบรกเกอร์ประกันภัยเจ้าต่างๆ

ประกันภัยความรับผิดสำหรับกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร

ในปัจจุบันนี้การทำประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพเป็นสิ่งที่สำคัญ ธุรกิจองค์กรต่างๆ รวมถึงเจ้าหน้าที่บริหาร นักลงทุน ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริหาร ที่เกี่ยวข้อง ต้องเผชิญกับกฎระเบียบข้อบังคับและการดำเนินคดีที่เข้มงวดมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นก็ถือว่าไม่ใช่เรื่องที่ผิด การมีกฎ ข้อบังคับที่เข้มงวดนั้นเป็นเรื่องที่ดี หรือบางทีการตัดสินใจจากคณะผู้บริหารที่ส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า เจ้าหนี้ทางธุรกิจ รวมถึงกฎระเบียบข้อบังคับของบริษัท สามารถนำไปสู่การดำเนินคดีที่อาจทำให้คณะผู้บริหารเหล่านั้นต้องรับผิดส่วนบุคคลได้เช่นเดียวกัน

ประกันกรรมการบริหาร

โดยทางกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดสำหรับกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหารนี้ จะให้ความคุ้มครองครอบคลุมได้ถึงกรรมการ เจ้าหน้าที่บริหาร และเจ้าหน้าที่ ผู้เอาประกันภัยอื่นๆ รวมถึงตัวบริษัทเอง อันเป็นผลมาจากการกระทำโดยมิชอบหรือโดยประมาทเลินเล่อจากกรรมการหรือเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท คุ้มครองการเรียกร้องของบุคคลภายนอก ซึ่งได้เกิดขึ้นภายในระยะเวลาเอาประกันภัย โดยการทำละเมิดหรือความเสียหาย อาจจะเกิดมาก่อน ระยะเวลาเอาประกันภัย แต่เกิดขึ้น ณ วันที่ หรือ หลังวันที่ตกลงคุ้มครองย้อนหลัง ซึ่งหากมองในมุมของการประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพ อาจกล่าวได้ว่าความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่ก็คือ ความรับผิดทางอาชีพการบริหารจัดการเช่นกัน

การคุ้มครองสามารถแบ่งออกเป็น 2 ข้อใหญ่ๆ คือ การคุ้มครองความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร และ การคุ้มครองเพื่อชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัทที่เอาประกันภัย โดยกรมธรรม์จะคุ้มครองในความเสียหายจากการบริหารงานผิดพลาด (Financial Loss) และ ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี (Defense Cost) ผู้ทู้ที่มีสีทธิฟ้องร้องค่าเสียหาย ได้แก่ ผู้ถือหุ้น, นักลงทุน, ลูกค้า / คู่แข่งทางการค้า, พนักงานของบริษัท เหล่านั้น

การประกันภัยความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหารย่อมมีข้อยกเว้นหรือเงื่อนไขความคุ้มครอง เช่นเดียวกับประกันภัยประเภทอื่นๆ อย่างไรก็ตาม กรมธรรม์นี้ได้ให้ความคุ้มครองสำหรับค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี ค่าเสียหายจากการพิพากษาของศาล และค่าเสียหายอื่นๆ ทีเป็นส่วนเกินจากค่ารับผิดส่วนแรกของกรมธรรม์

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม

ผู้เอาประกันภัยความรับผิดสำหรับกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งเคยเป็น เป็นอยู่ หรือจะเป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหารของบริษัท บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้จัดการดูแลผลประโยชน์เกี่ยวกับ เงินบำนาญ กองทุนเพื่อการเกษียณอายุหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของพนักงานบริษัท