ประกันภัยความรับผิดสำหรับกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร

ในปัจจุบันนี้การทำประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพเป็นสิ่งที่สำคัญ ธุรกิจองค์กรต่างๆ รวมถึงเจ้าหน้าที่บริหาร นักลงทุน ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริหาร ที่เกี่ยวข้อง ต้องเผชิญกับกฎระเบียบข้อบังคับและการดำเนินคดีที่เข้มงวดมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นก็ถือว่าไม่ใช่เรื่องที่ผิด การมีกฎ ข้อบังคับที่เข้มงวดนั้นเป็นเรื่องที่ดี หรือบางทีการตัดสินใจจากคณะผู้บริหารที่ส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า เจ้าหนี้ทางธุรกิจ รวมถึงกฎระเบียบข้อบังคับของบริษัท สามารถนำไปสู่การดำเนินคดีที่อาจทำให้คณะผู้บริหารเหล่านั้นต้องรับผิดส่วนบุคคลได้เช่นเดียวกัน

ประกันกรรมการบริหาร

โดยทางกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดสำหรับกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหารนี้ จะให้ความคุ้มครองครอบคลุมได้ถึงกรรมการ เจ้าหน้าที่บริหาร และเจ้าหน้าที่ ผู้เอาประกันภัยอื่นๆ รวมถึงตัวบริษัทเอง อันเป็นผลมาจากการกระทำโดยมิชอบหรือโดยประมาทเลินเล่อจากกรรมการหรือเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท คุ้มครองการเรียกร้องของบุคคลภายนอก ซึ่งได้เกิดขึ้นภายในระยะเวลาเอาประกันภัย โดยการทำละเมิดหรือความเสียหาย อาจจะเกิดมาก่อน ระยะเวลาเอาประกันภัย แต่เกิดขึ้น ณ วันที่ หรือ หลังวันที่ตกลงคุ้มครองย้อนหลัง ซึ่งหากมองในมุมของการประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพ อาจกล่าวได้ว่าความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่ก็คือ ความรับผิดทางอาชีพการบริหารจัดการเช่นกัน

การคุ้มครองสามารถแบ่งออกเป็น 2 ข้อใหญ่ๆ คือ การคุ้มครองความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร และ การคุ้มครองเพื่อชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัทที่เอาประกันภัย โดยกรมธรรม์จะคุ้มครองในความเสียหายจากการบริหารงานผิดพลาด (Financial Loss) และ ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี (Defense Cost) ผู้ทู้ที่มีสีทธิฟ้องร้องค่าเสียหาย ได้แก่ ผู้ถือหุ้น, นักลงทุน, ลูกค้า / คู่แข่งทางการค้า, พนักงานของบริษัท เหล่านั้น

การประกันภัยความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหารย่อมมีข้อยกเว้นหรือเงื่อนไขความคุ้มครอง เช่นเดียวกับประกันภัยประเภทอื่นๆ อย่างไรก็ตาม กรมธรรม์นี้ได้ให้ความคุ้มครองสำหรับค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี ค่าเสียหายจากการพิพากษาของศาล และค่าเสียหายอื่นๆ ทีเป็นส่วนเกินจากค่ารับผิดส่วนแรกของกรมธรรม์

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม

ผู้เอาประกันภัยความรับผิดสำหรับกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งเคยเป็น เป็นอยู่ หรือจะเป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหารของบริษัท บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้จัดการดูแลผลประโยชน์เกี่ยวกับ เงินบำนาญ กองทุนเพื่อการเกษียณอายุหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จัดตั้งขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของพนักงานบริษัท

รู้จักกับ บริษัทประกันภัย ในประเทศไทย

บริษัทประกันภัย คือ บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 โดยเป็นการตกลงกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่ายคือบริษัทประกันภัย (ผู้รับประกันภัย) และผู้ซื้อประกันภัย (ผู้เอาประกันภัย) หลักการทำประกัน คือ การโอนย้ายความเสี่ยงของการสูญเสียจากผู้เอาประกันไปยังบริษัทประกันภัย โดยผู้เอาประกันภัยต้องจ่ายเงิน ซึ่งเรียกว่า “เบี้ยประกันภัย” ให้แก่บริษัทประกันภัย หากเกิดความเสียหายขึ้นในเงื่อนไขที่ตกลงกัน บริษัทประกันภัยมีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมให้แก่ผู้เอาประกัน ตามที่ได้ระบุในกรมธรรม์  โดยมี 2 รูปแบบได้แก่ “สัญญาประกันชีวิต” ซึ่งจะเน้นไปที่การคุ้มครองชีวิต ประกันสุขภาพ และการออมเงิน และ “สัญญาประกันวินาศภัย” ซึ่งจะเน้นไปที่การคุ้มครองภัยพิบัติต่าง ๆ เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม เป็นต้น

ประกันธุรกิจ ประกันชีวิต ประกันภัย

ผู้รับประกันภัยหรือบริษัทประกันภัยจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยจะมีรายชื่อบริษัทประกันภัยชั้นนำ ชื่อดัง มากมายเป็นหลายสิบบริษัท ทั้งบริษัทที่มีชื่อเสียงมาก ไล่ไปจนถึงบริษัทที่พึ่งก่อตัวขึ้นมาและกำลังพยายามที่จะสร้างชื่อให้กับตนเองด้วยวิธีการต่างๆ วันนี้จะลองมาทำความรู้จักกับบริษัทประกันภัยที่มีอยู่ในประเทศไทยว่ามีชื่อที่คุ้นกันบ้างหรือเปล่า โดยไม่เรียงจากบริษัทที่มีชื่อเสียง

บริษัทประกันชีวิต ได้แก่  กรุงเทพประกันชีวิต, กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต, เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์), ไทยคาร์ดิฟ ประกันชีวิต, ไทยประกันชีวิต, ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต, เอฟดับบลิวดีประกันชีวิต, ไทยรีประกันชีวิต, ไทยสมุทรประกันชีวิต, ธนชาตประกันชีวิต, บางกอกสหประกันชีวิต, ประกันชีวิตนครหลวงไทย(เดิมบจ.แมกซ์), พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย), ฟินันซ่าประกันชีวิต, โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย), เมืองไทยประกันชีวิต,  แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย), ไทยซัมซุง ประกันชีวิต(เดิมสยามซัมซุง), ทิพยประกันชีวิต (เดิม สยามประกันชีวิต), สหประกันชีวิต, เอไอเอ ประเทศไทย, อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต, อาคเนย์ประกันชีวิต, ล็อคตั้น วัฒนาฯ, เอซ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์, บูพา ประเทศไทย, แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต, ไอเอ็นจี ประกันชีวิต, ซิกน่า ประกันภัย, ฟิลลิปประกันชีวิต ซึ่งบริษัทต่างๆ เหล่านี้ก็จะเป็นบริษัทที่มักได้รับความนิยมหรือเป็นบริษัทที่คุ้นหูกันมายาวนาน แต่ไม่ได้หมายความว่าบริษัทที่เหลือจะไม่ใช่บริษัทที่ไม่ดี

ความจริงแล้ว  รายชื่อบริษัทประกันภัยไม่ได้จะบอกถึงความเป็นที่หนึ่งหรือความมั่นใจได้ว่าสามารถใช้บริการได้ดีพอหรือไหม โดยที่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับความพึงพอใจในการใช้บริการของแต่ละบุคคลว่าบริษัทประกันภัยที่ใช้อยู่ได้ให้บริการดีพอหรือยัง เพราะแต่ละบริษัทก็มีพนักงานมากหน้าหลายตา นิสัยใจคอต่างกัน บางทีเลือกใช้งานบริษัทเดียวกันแต่การบริการไม่เหมือนกันเพราะขึ้นอยู่กับตัวแทน ควรศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วน ก่อนจะตัดสินใจเลือกซื้อประกันกับบริษัทประกันภัย